รางหรือราวผ้าม่านมีหน้าที่ในการแขวนตัวม่านเข้ากับประตูหน้าต่าง และยังทำให้สามารถดึงม่านเพื่อเปิดปิดใช้งานในท้องตลาดมีอยู่มากมายหลายรุ่น ตัวอย่างราวผ้าม่านรุ่นต่างๆ ในที่นี้จะขอเสนอเฉพาะที่ทางร้านมีจำหน่ายจะแบ่งออกได้เป็น
1.) รางม่านที่มีลูกล้อช่วยในการใช้งาน
ลักษณะเด่นคือ ห่วงที่ใช้แแขวนผ้าม่านจะมีลูกล้อวิ่งอยู่ช่วยให้ดึงม่านเปิดปิดได้ง่าย มีให้เลือกหลายรุ่น เช่น รางตัวเอ็ม(หน้าตัดคล้ายตัวอักษร M) รางโค้งดัดมือ รางม่านลอน รางโค้งโรงพยาบาล รางตัวซี รุ่นที่ได้รับความนิยมจะเป็นรางม่านแบบตัวเอ็มสีต่างๆ
การใช้งานรางผ้าม่านชนิดที่มีลูกล้อ
1.1) ดึงเปิดปิดได้ด้วยมือมือ หรือ กรณีเป็นม่านชุดสูงๆอาจใช้ด้ามจูงผ้าม่าน มีข้อดีคือเปิด-ปิดอิสระซ้ายขวาแยกจากกันได้ รางบางรุ่นสามารถดัดโค้งตามหน้างานได้เช่นรางโค้งดัดมือ บางรุ่นต้องดัดมาจากโรงงานเช่นรางตัวเอ็ม
1.2) ใช้เชือกเพื่อดึงรวบม่านหรือเปิดม่านออก ซึ่งปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากการใช้งานระยะยาวเชือกจะเปื่อยหรือขาดได้ ปัจจุบันมักใช้ระบบนี้เฉพาะหน้างานที่จำเป็นเท่านั้น
รางตัวเอ็มที่ทางร้านเลือกใช้ได้คัดสรรแล้วว่ามีความคล่องตัวสูงกว่ารางตัวเอ็มทั่วไปลูกค้ามั่นใจในการใช้งานได้
2.) ราวประดับหรือรางโชว์
ลักษณะเด่นของราวประดับคือรูปลักษณ์ที่สวยงาม มีหัวราวให้เลือกได้หลากหลาย ตัวราวมีทั้งที่ผลิตจากเหล็ก,สแตนเลส และ อลูมิเนียม(ปิดผิวด้วย วัสดุปิดผิวลายไม้สีต่างๆ) เน้นการตกแต่งเป็นหลักเนื่องจากการใช้งานเปิดปิดความคล่องตัวจะสูงรางที่มีลูกล้อไม่ได้
ข้อแนะนำ
สำหรับลูกค้าที่เลือกใช้ม่านแบบตอกตาไก่มีข้อแนะนำให้เลือกรูตาไก่ให้มีขนาดใหญ่กว่าราว(เช่น
รางเหล็กขนาด19มม)พอสมควรจะช่วยเรื่องความฝืดจากการใช้งานลงได้บ้าง
สำหรับลูกค้าที่ชื่นชอบผ้าม่าน ที่แขวนด้วยรางโชว์ทางขอนำเสนอ
รางโชว์รุ่นมีลูกกลิ้ง
ราวม่านรุ่นนี้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความฝืดของรางโชว์รุ่นปกติได้เป็นอย่างดี
การใช้งานรางโชว์
2.1) ดึงเปิดปิดได้ด้วยมือมือหรือไม้จูงม่านเท่านั้น ไม่สามารถใช้ระบบชักรอกเข้ามาร่วมใช้งานได้
ลักษณะของม่านจีบ เมื่อแขวนด้วยรางเอ็ม และ ราวประดับ(ราวโชว์)ต่างกันอย่างไร
การแขวนผ้าจะต้องใช้ตะขอสำหรับเกี่ยวม่าน เข้ากับลูกล้อบนตัวราง สำหรับรางตัวเอ็มมักจะใช้ตะขอเกี่ยวผ้าที่เรียกว่า "ตะขอเพดาน" เมื่อแขวนแล้ว หัวผ้าจะอยู่แนวเดียวกับตัวราง ช่วงบังรางขณะดึงปิดม่าน หรือ หากต้องการความคล่องตัวอาจแขวนม่านไว้ใตัรางได้ แต่ต้องใช้ "ตะขอโทโซ่"
หากเลือกใช้เป็นราวโชว์จะใช้ "ตะขอโทโซ่" เท่านั้น เมื่อแขวนม่านแล้วหัวผ้าจะอยู่ใต้ราว ทำให้เมื่อปิด-เปิดม่านจะยังเห็นตัวรางอยู่เสมอ
เลือกใช้ราวผ้าม่านอย่างไรให้เหมาะสม
รางตัวเอ็ม
ผลิตจากอลูมิเนียมไม่เป็นสนิม มีลูกล้อสำหรับแขวนผ้าวิ่งอยู่ภายในราง
มีข้อดีคือใช้งานง่ายคล่องตัวราคาไม่แพงมีให้เลือกทั้งการใช้มือดึงและการใช้เชือกชักรอก
กรณีใช้ระบบมือผลักหรือด้ามจูงจะคงทนดูแลรักษาง่ายกว่าระบบชักรอก
รางเอ็มจะมีจำหน่ายเฉพาะใน ร้านผ้าม่าน มีสีให้เลือกดังนี้คือ
สีขาว
สีดำ สีบรอนด์เงิน(อลูมิเนียม) และ สีลายไม้
- ความเหมาะสม : เหมาะกับม่านชุดใหญ่ๆหรือติดตั้งชนเพดานหรือฝ้า พื้นที่ใช้งานที่มีการเปิดปิดม่านทุกวัน
- แบบม่านที่ใช้ได้ : ม่านจีบ ม่านลอน
รางโชว์ มี่ทั้งที่ผลิตจากเหล็ก,สแตนเลส,อลูมิเนียมปิดผิวด้วยวัสดุเคลือบลายไม้ มีให้เลือกหลายรุ่นเช่น รางโชวร์แบบรุ่นมีลูกกลิ้ง , รางเหล็กขนาด19มม. , รางเหล็กขนาด25มม. , รางอลูมิเนียมลายไม้ รางสแตนเลส ข้อดีคือสวยงามแต่ ความคล่องตัวจะสู้รางระบบลูกล้อไม่ได้ มีราคาสูงกว่ารางเอ็ม เมื่อแขวนม่านแล้วตัวม่านจะอยู่ใต้ราง
- ความเหมาะสม : เหมาะกับการตกแต่งที่เน้นความสวยงามและไม่มีการเปิดปิดใช้งานบ่อยนัก หาซื้อได้ง่ายกว่ารางแบบมีลูกล้อ
- แบบม่านที่ใช้ได้ : ม่านจีบ ม่านลอน ม่านตาไก่
บทความโดย : ร้านผ้าม่านไทย 09 สิงหาคม 2564 ; last update : 18 กรกฎาคม 2567