ม่านปรับแสง (Vertical Blinds) หรือ ม่านปรับแสงแนวตั้ง ลักษณะเด่นคือมีใบม่านร้อยลงในแนวตั้งฉากกับพื้น พลิกใบม่านเพื่อปรับแสงและรวบม่านเก็บไว้ด้านข้างได้ ราคาเริ่มต้นต่อพื้นที่ถูกกว่าม่านชนิดอื่นๆ มีขนาดใบมาตรฐาน89มม. วัสดุที่นิยมนำมาใช้จะเป็นแบบใยสังเคราะห์
สารบัญ
- ม่านปรับแสงของร้านผ้าม่านไทยมีจุดเด่นอย่างไร?
- ใบม่านปรับแสงแต่ละชนิดมีคุณสมบัติอย่างไร?
- ข้อแนะนำในการเลือกใช้ใบม่านปรับแสงแต่ละชนิด
- รูปแบบการใช้งานม่านปรับแสง
- วิธีดูแลรักษาและทำความสะอาดใบม่านปรับแสงเบื้องต้น
- ตัวอย่างงานติดตั้งม่านปรับแสง , รูปผลงานอื่นๆ
- วิธีติดตั้งม่านปรับแสงด้วยตนเอง
- แค็ตตาล็อกตัวอย่างสีใบม่านปรับแสงทั้ง3ชนิด
เชิญชมตัวอย่างได้ที่ร้านผ้าม่านไทย ร้านตั้งอยู่บนถนนลาดพร้าว บริการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าทางต่างจังหวัด
ม่านปรับแสงของร้านผ้าม่านไทยมีจุดเด่นอย่างไร?
เมื่อหมุนปรับใบม่านปิดเพื่อบังแดด แต่ละใบจะมีระยะซ้อนเกยกันที่2ซม. ซึ่งโดยปกติจะเกยกันเพียง1ซม. การที่มีระยะใบที่ซ้อนกันมากจะทำให้ปิดม่านได้มิดชิด ป้องกันแดดที่จะแยงเข้ามาได้ดียิ่งขึ้น และ ใช้จำนวนใบที่มากขึ้นตามไปด้วย
สินค้าที่ร้านเป็นแบบสั่งผลิตสามารถระบุขนาดได้ตามที่ต้องการ กรณีหน้างานมีขนาดกว้างมากๆ ความยาวของรางสามารถผลิตได้กว้างสุดถึง6เมตร
ใบม่านปรับแสงแต่ละชนิดมีคุณสมบัติอย่างไร?
ในปัจจุบันใบม่านปรับแสงชนิดใยสังเคราะห์ได้รับความนิยมมากกว่าใบที่ทำจากอลูมิเนียมและพีวีซีมาก
เพราะมีจุดเด่นในเรื่อง ราคาถูก ,
ใบม่านมีความอ่อนตัวไม่แข็งกระด้างจึงใช้งานได้ทั้งในบ้านและที่ทำงาน ,
ไม่ส่งเสียงรบกวนในขณะเปิดปิดม่าน
มีให้เลือกใช้ถึง3ชนิดตามลักษณะการใช้งานในรูปแบบต่างๆ
ข้อแนะนำในการเลือกใช้ใบม่านใยสังเคราะห์ทั้ง3แบบ
-
ใบม่านแบบไม่ทึบแสง (แสงส่องผ่านบางส่วน)
หรือดิมเอ้าท์
ใบม่านชนิดนี้ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ส่วนใหญ่จะเป็นใบที่มีลวดลายและสีสันในตัว
เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและมีแบบให้เลือกมากที่สุด
เนื่องจากให้ความเป็นธรรมชาติเมื่อแสงส่องและราคาไม่สูง
ตย.สีใบม่านแบบไม่ทึบแสงใบม่านแบบไม่ทึบแสง - ใบม่านทึบแสง
หรือ
ใบม่านปรับแสงblackout
วัสดุที่ใช้ทำใบม่านทำมาจากเส้นใยสังเคราะห์เช่นเดียวกัน
(แต่จะมีความหนามากกว่าชนิดแสงผ่านได้)
ใบม่านชนิดนี้สามารถป้องกันแสงแดดและความร้อนได้มากที่สุด
แสงจากภายนอกจะลอดผ่านเข้ามาในภายในอาคารได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ผ่านการสะท้อนของช่องระหว่างใบ) ดูแลรักษาง่ายกว่าชนิดแสงผ่านได้ เนื่องจากตัวใบมีผิวมันและมีราคาสูงกว่าแบบดิมเอาท์พอสมควร
ตย.สีใบม่านปรับแสงblackoutม่านปรับแสงblackout ใบทึบแสง -
ใบม่านที่เห็นวิวภายนอกได้
หรือ ซันสกรีน(Sunscreen) มีลักษณะเฉพาะคือ
ตัวใบมีลักษณะคล้ายเป็นเส้นใยที่สานกันอย่างหลวมๆ ทำให้รูเล็กขนาดเล็กและถี่ขึ้นมา
รูพวกนี้ทำให้ช่วยให้มองเห็นวิวภายนอกได้
ตัวม่านชนิดนี้สามารถกรองแสงจากแสงแดดได้ดีพอสมควร แต่ในกรณีแดดแรงๆอาจมีเล็ดลอดผ่านตัวม่านเข้ามาได้(มากน้อยขึ้นอยู่กับทิศทางของแดดที่ส่องเข้ามา) ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนักเนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูง
ตย.สีใบม่านแบบซันสกรีน(Sunscreen)ใบม่านปรับแสงชนิดเห็นวิวภายนอกได้
ข้อแนะนำในการเลือกใช้ใบม่านปรับแสงแต่ละชนิด
-
ใบไม่ทึบแสง
(แสงส่องผ่านได้บ้าง,Dimout)
การส่องผ่านของแสงจะขึ้นอยู่กับสีของตัวม่านที่เลือก
โดยเมื่อปิดม่านจะช่วยให้ห้องสว่างได้ในช่วงกลางวัน
สีม่านโดยมากจะเป็นสีโทนพื้นให้บรรยากาศสบายๆเมื่อติดตั้งแล้ว
เหมาะกับห้องที่ต้องการแสงและความเป็นส่วนตัวไปพร้อมๆกัน ใช้ได้ทุกโอกาสตามความเหมาะสม ไม่ควรใช้กับบริเวณที่มีความชื้นเช่นห้องน้ำเพราะอาจเกิดเชื้อราขึ้นได้ - ใบทึบแสง (Blackout)
ใบชนิดนี้ช่วยป้องกันแสงและความร้อนได้ดีกว่าแบบอื่น มีน้ำหนักใบมากกว่าแบบธรรมดา
เหมาะกับห้องที่มีแสงแดดแรง ห้องที่ไม่ต้องการแสงมากนักเช่นห้องนอน หรือ ห้องที่ไม่ต้องการการดูแลมากนัก เนื่องจากใบชนิดนี้บ้างรุ่นมีผิวมันทำให้ฝุ่นไม่เกาะ สามารถเช็ดทำความสะอาดได้ง่าย -
ใบซันสกรีน(Sunscreen)
เป็นชนิดเดียวที่สามารถมองเห็นวิวภายนอกได้โดยที่ยังสามารถป้องกันแดดได้บ้าง
เหมาะกับห้องที่ต้องการความโปร่งโล่งเช่นห้องรับแขก,ห้องนั่งเล่น
รูปแบบการใช้งานม่านปรับแสง
ตัวใบม่านวางตัวในแนวตั้งสามารถหมุนใบม่าน เพื่อกำหนดความเข้มของแสงปรับให้เข้าภายในห้องได้ตามต้องการ โดยใช้โซ่ไข่ปลาที่อยู่ทางด้านข้าง และ ในการดึงรวบเก็บตัวม่านจะมีชุดเชือกด้านข้างอีก1ชุดสำหรับชักรอกม่านเพื่อเปิดหรือเปิด
1.) ปรับองศาใบโดยใช้ "โซ่ปรับใบ"
ในชุดรางจะมีชุดโซ่ไข่ปลาอยู่
โซ่เส้นนี้ใช้สำหรับดึงเพื่อปรับองศาของใบม่าน
เพื่อให้เห็นวิวภายนอกได้โดยที่ยังไม่ต้องรวบม่านเก็บ ช่วยให้ห้องโปร่งโล่งขึ้น
หากปรับในมุมให้รับกับแสงแดดที่ส่องเข้ามาจะช่วยบังแสงแดดในขณะที่เห็นวิวภายนอกไปได้อีกด้วย
2.) ดึงรวบม่านเก็บด้านข้างได้
เพื่อให้รับแสงได้อย่างเต็มที่ ชุดรางของม่านปรับแสงจะมีเชือกสำหรับดึงม่านอยู่ด้านข้างสำหรับรวบม่าน เลือกได้2แบบดังนี้คือ ดึงเชือกแล้ว ตัวม่านจะแยกออกตรงกลาง หรือ จะดึงแล้วให้ม่านรวบไว้ด้านเดียว สั่งผลิตได้ตามความต้องการ
หมายเหตุ โดยมากชุดที่มีความกว้างมากกว่า2เมตร จะสั่งเป็นแบบแยกกลาง ส่วนชุดที่มีความกว้างไม่มาก(ไม่เกิน1เมตร)จะสั่งเป็นแบบเก็บข้างเดียว
วิธีดูแลรักษาและทำความสะอาดใบม่านปรับแสงเบื้องต้น
นับเป็นข้อดีอย่างนึงในการดูแลรักษาม่านปรับแสงเนื่องจากตัวใบม่านมีลัษณะทิ้งตัวลงมาในแนวดิ่ง จึงไม่มีปัญหาฝุ่นที่กองสะสมบนตัวใบม่านเหมือนม่านที่ตัวใบวางในแนวนอน การทำความสะอาดจึงทำได้ง่ายๆดังนี้
- ใช้แปรงปัดฝุ่น หรือ
ไม้ขนไก่
โดยปรับใบม่านให้อยู่ในลักษณะปิดและปัดฝุ่นในแนวดิ่ง หรือ
ให้ใบวางตัวขนาดกันให้แปรงปัดฝุ่นสามารถผ่านเข้าไปทำความสะอาดได้
วิธีนี้สามารถใช้ได้กับใบม่านทั้ง3ชนิด - ยางลบดินสอ การใช้ยางลบดินสอจัดเป็นวิธีที่ปลอดภัยวิธีหนึ่งในการขจัดรอยเปื้อนเล็กน้อย แต่ควรทำด้วยความระมัดระวังไม่ออกแรงจนเกินไป
- ผ้าชุบน้ำหมาดๆเช็ด การใช้ผ้าหมาดเช็ดเบาๆบนรอยเปิ้อนวิธีนี้ใช้เมื่อมีรอยเปื้อเล็กน้อย หากเป็นใบชนิดดิมเอาท์ควรเช็ดด้วยความระมัดระวังและหลังเช็ดควรพึ่งให้แห้ง
- ผ้าชุมน้ำผสมผงฟู(เบกกิ้งโซดา)หรือน้ำยาล้างจาน กรณีรอยหนักอาจลองใช้ผ้าชุบน้ำที่มีผงฟูละลายอยู่ หรือ ใช้น้ำที่ผสมน้ำยาล้างจานอ่อนๆ เช็ดบริเวณคราบเปื้อนเบาๆในการทำความสะอาดได้ วิธีนี้เหมาะกับการใช้กับใบม่านแบบทึบแสงชนิดผิวมัน และ ใบซันสกรีน หากเป็นใบม่านชนิดดิมเอาท์การขจัดคราบหนักออกจากใบถือเป็นเรื่องยาก ควรทำด้วยความระมัดระวัง
วิธีติดตั้งม่านปรับแสงด้วยตนเอง
สำหรับลูกค้าต่างจังหวัดที่ต้องการสั่งเฉพาะตัวสินค้าเพื่อนำไปติดตั้งเอง
ทางร้านจะประกอบราง และ ผลิตตัวม่านไว้ให้ตามขนาดที่แจ้งให้เรียบร้อย (
อ่านการวัดขนาดอย่างละเอียดได้ที่หน้า
ประเมินราคา )
สามารถศึกษาแนวทางการนำไปติดตั้งด้วยตนเองได้ตามคู่มือ
คู่มือติดตั้งม่านปรับแสง
แค็ตตาล็อกตัวอย่างสีใบม่านปรับแสงทั้ง3ชนิด
ตัวอย่างสีม่านปรับแสงblackout
ตัวอย่างสีม่านปรับแสงชนิดดิมเอาท์
ตัวอย่างสีม่านปรับแสงชนิดซันสกรีน Sunscreen
บทความที่เกี่ยวข้อง
4วิธีในการทำความสะอาดม่านปรับแสง
แนวทางการทำความสะอาดใบม่านปรับแสงจากฝุ่นธรรมดาไปถึงรอยเฉพาะจุด
อ่านต่อ...คู่มือการติดตั้งม่านปรับแสง
แนะนำวิธีการติดตั้งม่านปรับแสงแนวตั้งเบื้องต้น สำหรับลูกค้าที่สั่งสินค้าไปติดตั้งด้วยตนเอง หรือ ต้องการศึกษาเป็นแนวทางก่อนสั่งทำ
อ่านต่อ...